วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

  1. ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น  (Hierarchy of needs)
     
             เป็นทฤษฏีจูงใจของ Maslow กล่าวไว้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (Wanting animals) และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ (Wants) และการต้องการจำเป็นต่าง ๆ(Needs) ความต้องการไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่  Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5ขั้น คือ


  • ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา  (Physiological needs) 
  • ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต  (Safty needs)
  • ความต้องการทางด้านสังคม  (Social needs)
  • คามต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง (Self-esteem needs)
  • ความต้องการความสำเร็จแห่งตน  (Self-actualization needs)
2.      ทฤษฏีขั้นบรรไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)


     ผู้นำเสนอทฤษฏีนี้ คือ Philip  Pearce โดยประยุกต์จากทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการความจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ในลำดับขั้นแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยวในขั้นที่ 1 หรือความต้องการทางสรีระวิทยา  ถึงขั้นที่ 4  จะเกิดจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
(Self-directed) ส่วนหนึ่ง และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other-direced)  แบ่งออกเป็นดังนี้
  •   ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
  • ความต้องการความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเอง
  • ความต้องการสรางสัมพันธภาพ
  • ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง
  • ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
3.   แรงจูงใจวาระซ่อยเร้น (Hidden Agenda)


          ของ Crompton  เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว  มีบางส่วนที่คล้ายกับทฤษฏีแรงจูงใจของ Maslow  แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี 7 ประเภท ดังนี้
  • การหลีกหนีจากสภาพแวดบล้อมที่จำเจ
  • การสำรวจและการประเมินตนเอง
  • การพักผ่อน
  • ความต้องการเกียรติภูมิ
  • ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
  • การกระชับสัมพันธ์ทางเครือญาติ
  • การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
4.  แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยว


          ในทัศนะของ Swarbrooke  จำแนกแรงจูงใจออกเป็น 6 ชนิด
               1.แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physical)
                     คือ ความต้องการพักผ่อนหย่อนใจจากความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เพราะ ต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ  เช่น อาบแดดให้ผิวเป็นสีแทน เป็นต้น
               2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
                  คือ ความสนใจที่จะได้สัมผัสวัฒนธรรมที่แปลกใหม่  ได้เห็นสถาปัตยกรรมที่แปลกใหม่  ได้เห็นวิถีชีวิตที่แปลก ๆ  เช่น การท่องเที่ยวเพื่อชมวัด ปราสาท ชมวัง เป็นต้น
               3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง (Emotional)
                  ต้องการเห็นสิ่งที่เป็นอดีต  สิ่งที่หาดูไม่ได้ในโลกปัจจุบัน  เรียกว่า แรงจูงใจทางด้านการถวิลหาอดีต (Nostalgia) นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะชอบชมพิพิธภัณฑ์ ชอบชมอุทยานประวัติศาสตร์
               4.การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ (Status)
                  คือ แรงจูงใจที่อยากได้ชื่อว่าเที่ยวแล้วมีหน้ามีตา มีคนชื่นชม  เช่น ไปเที่ยวในประเทศที่ยังไม่มีใครเคยไป เป็นต้น
               5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง (Personal development)
                  บางคนเดินทางเพื่อหาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ตัวอย่าง คือ นักเรียนไทยที่มีฐานะดีเดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษในต่างประเทศในช่วงฤดูร้อน
               6.แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal)
                  เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผลส่วนตัวของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะไปเยี่ยมเยียนญาติมิตรเพื่อนฝูงที่อยู่ห่างไกลกัน ความต้องการที่จะหาเพื่อนใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น