วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 8 ธุรกิจอื่น ๆ และองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม


          หมายถึง การประกอบกิจการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยว หรือประชาชนทั่วไป

ความเป็นมา
  • สมัยกรีก – โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทาง ในสมัยโรมันมีร้านอาหารแบบ Snack Bars (ที่มาของธุรกิจอาหารจานด่วน Fast Food)
  • ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
  •  ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ในศตวรรษที่ 16 มีการนำเข้าชา กาแฟ
  •  ค.ศ.1765 เกิดธุรกิจภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเญอร์ ขายซุป
  • ค.ศ.1782 ภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Grande Taverne de Londres ที่ปารีส
  • ในอเมริกา Delmonico และร้านอาหารราคาถูก ในนิวยอร์ค ค.ศ.1827 และ 1848 
  •  ธุรกิจร้านอาหารยุคหลัง ๆ หลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร เช่น McDonald เมื่อปี 1948
ประเทศไทย
  •  ยุคแรก คนไทยนิยมเก็บอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือนไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน
  • สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนย่านสำเพ็ง
  • สมัยรัชกาลที่ 4 – ปัจจุบัน มีอิสระในการดำเนินชีวิต ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มาพร้อมกับโรงแรม
ประเภท

ธุรกิจอาหารจานด่วน Fast Food Restaurants

                       
  • เน้นความสะดวก รวดเร็ว ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  •  เปิดทุกวัน ไม่เจาะจงแต่ร้านที่ดำเนินการแบบการรับรองสิทธิ (Franchise) แต่รวมถึงอาหารตามเชื้อชาติอื่น ๆ ให้บริการในรูปอาหารจานเดียว
ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป Deli Shops


  • บริการอาหารสำเร็จรูปแช่เข็ง เนย แซนด์วิช สลัด และอื่นๆ
  • ที่นั่งในร้านมีจำกัด
  • เปิดไม่นาน 
  •  มักอยู่ในทำเลที่ผู้คนหนาแน่น
 ธุรกิจอาหาร Buffets
     
  • ลูกค้าบริการตนเอง ตักอาหารไม่จำกัดปริมาณ “All you can eat” ในราคาเดียว / หัว
  •  เครื่องดื่มจะบริการให้ที่โต๊ะ
  •  ได้รับความนิยมในโรงแรม
ธุรกิจประเภท Coffee Shops
  • เน้นบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารอยู่ที่เค้าน์เตอร์บริการ
  • ราคาไม่แพง
ธุรกิจ Cafeterias

  • ลูกค้าบริการตนเอง
  • รายการอาหารจำกัด
  •  เน้นความรวดเร็ว
  • สถานที่กว้างขวาง
ธุรกิจร้านอาหาร Gourmet Restaurants

  • เน้นบริการระดับสูง
  • ใช้ทุนมากเพื่อรักษาชื่อเสียงรวมทั้งดึงดูดลูกค้า
ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ Ethnic Restaurants

  •  เน้นอาหารประจำถิ่น
  • พนักงานแต่งการตามชาติ
  • การตกแต่งร้านมีลักษณะเน้นจุดเด่นประจำชาติ
อาหารไทยภาคกลาง


        มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร จึงเป็นศูนย์กลางการค้าและทางวัฒนธรรมของชาติ มีความหลากหลายของอาหาร ทั้งเค็ม เผ็ด เปรี้ยวหวาน และมีการแต่งกลิ่นด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

 อาหารไทยภาคเหนือ


                               
 
          ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศอุดมสมบูรณ์ มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม อาหารใช้พืชตามป่าเขา หรือที่ปลูกไว้มาปรุงอาหาร มีแบบเฉพาะ เรียกว่า “ขันโตก” ไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะได้ความหวานจากผักแล้ว

อาหารไทยภาคใต้


          อยู่ติดทะเล (ฝน8แดด4) อาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล (มีกลิ่นคาวจึงใช้เครื่องเทศและขมิ้นดับกลิ่น) อาหารมีรสชาติเผ็ด ร้อน เค็ม เปรี้ยว นิยมกินผักเพื่อลดความร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


          อากาศร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินร่วนปนทราย มักรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงวัว ควาย เพื่อบริโภค และสัตว์อื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่น มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา อาหารมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม มีการถนอมอาหาร

ประเภทของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

เฟรนชาย
  •  มีประเภทไม่มาก
  • ต้นทุนต่ำ
  • ประสิทธิภาพพนักงานสูง มีการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
  • ภาชนะใส่อาหารมักเป็นครั้งเดียว ลดเรื่องการล้างทำความสะอาด
  •  มีความชำนาญด้านอาหารเป็นอย่างดี
บริการอาหารในโรงแรม

1.อาหารเช้า เวลา 8.00-9.00 น.

     1.1 อาหารเช้าแบบยุโรป = น้ำผลไม้ ขนมปัง แยมหรือเนย กาแฟ ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้

     1.2 อาหารเช้าแบบอเมริกัน = น้ำผลไม้ คอร์นเฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน ชา กาแฟ

2. อาหารก่อนกลางวัน เวลา 9.30-11.30 น.

3. อาหารกลางวัน เวลา 11.30-14.00 น. (ไม่หนักเกินไป)

“A la carte” = สั่งตามใจ หรือ Table d’hotel อาหารชุด

  • จานเดียว
  • าหารกลางวันแบบ 2 จาน
  • อาหารกลางวันแบบ 3 จาน
  • อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์
4. อาหารว่างหรือน้ำชา เวลา 15.00-17.00 น.

  • ชา กาแฟ เค้ก หรือผลไม้
5. อาหารค่ำ เวลา 19.00 น. มื้อหนักสุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้

    5.1 อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)

    5.2 ซุป (Soup)

    5.3 อาหารจานหลัก (Entress) อาหารทะเล

   5.4 อาหารจานหลัก (Main Course) ประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง

   5.5 ของหวาน (Dessert)

   5.6 ชา กาแฟ (Tea & Coffee)

ชั้นแรงงานในอังกฤษใช้คำว่า dinner = อาหารมื้อเที่ยง

6. อาหารเย็น (Supper) อาหารมื้อเบา ๆ หลังมื้อเย็น (มื้อสุดท้ายของวัน)

ในอังกฤษอาหารมื้อเย็น เรียกว่า tea

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก (Shopping and Souvenir Business)


          คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค

ความเป็นมา

          การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป

สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า

          อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า

ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ


ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน

ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า

กิจกรรมการซื้อสินเป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ
เป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น

ธุรกิจสินค้าที่ระลึก

คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน มักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น



ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย

          แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
  •  รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
  • รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
  • รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
  • สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ
  • สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
  • สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
  •  รูปลักษณะตัวอักษร
  • รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
  • รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
  • รูปลักษณะธรรมชาติ
  •  รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
  • รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
  •  ประเภทบริโภค
  • ประเภทประดับตกแต่ง
  • ประเภทใช้สอย 
  •  ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ทางสังคมและวัฒนธรรม
  • สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
  • ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
  • การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
  • สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
  • สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
  • ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
  • ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)

          หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว

ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว

2.สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)

ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว

ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

 

บริษัทนำเที่ยว Tour Operator

          ธุรกิจนำเที่ยว พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ.2535 มาตราที่ 3 “การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก เกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร หรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว”

ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว

  1.  ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุร
  2. กิจนำเที่ยวในประเทศ
  3. ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
บทบาทหน้าที่ของ Travel Agency

  • จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว เช่น ราคาห้องพัก รถเช่า ฯลฯ
  • การจองใช้บริการยานพาหนะ การจองตั๋วเครื่องบิน ต้องใช้ข้อมูล คือ จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อ นามสกุล เบอร์ ที่อยู่ ข้อมูลความต้องการพิเศษ
  • รับชำระเงิน ARC ให้ Travel Agency ส่งรายงานจำนวนบัตรค่าโดยสารที่ขายแล้วได้รับแล้วนำเข้าบัญชี settlement account ซึ่ง ARC จะถอนไปชำระให้สายการบิน
  • ส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
  • ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่น ๆ
  • ช่วยในการซื้อบัตรโดยสาร
  •  ออกบัตรโดยสาร และเอกสารอื่น ๆ
ประโยชน์ของ Travel Agency
  1. ช่วยวางแผนและหาข้อมูลในการท่องเที่ยว
  2.  ราคาที่ดีที่สุด
  3. ประหยัดเวลา
  4. ช่วยแก้ปัญหาในเวลาจำเป็น
  5.  รู้จักผู้ประกอบการ และธุทรกิจที่ดีกว่าเรา
ลักษณะของตัวแทนการท่องเที่ยว (Travel Agency) ที่ดี
  1. เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของลูกค้าในการท่องเที่ยวได้
  2. นักขาย นักจิตรวิทยา ชำนาญเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว
  3.  รู้ข้อได้เกรียบเสียเปรียบของการเดินทาง
  4. จัดหาบริการที่เหมาะสมกับลูกค้า
  5.  รู้เรื่องภูมิศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ดี
  6. สามารถอ่านตารางยานภาหนะได้ทุกประเภทและรวดเร็ว
ประเภทของ Travel Agency มี 4 ประเภท

1. แบบที่มีมาแต่เดิม
  • ประเภทเครือข่าย
  • ประเภท Franchise
  • ประเภท Consortium
  • ประเภทอิสระ
2. แบบที่ขายทางอินเทอร์เน็ต


3. แบบชำนาญเฉพาะทาง


4. แบบประกอบธุรกิจจากที่พัก

การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว


ทำเลที่ตั้ง

         ธุรกิจที่ไม่อยู่ติดกับผู้บริโภคโดยตรง อาจตั้งย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก

แหล่งเงินทุน

         เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนอุตสาหกรรมอื่น เพียงมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การตลาด

          คือ ลู่ทางการจัดจำหน่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด การทำประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการวางแผน การทำวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น

การจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว

หลักประกันอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

เฉพาะพื้นที่ 10,000 บาท ในประเทศ 50,000 บาท

Inbound 100,000 บาท

Outbound 200,000 บาท

บริษัททัวร์หรือผู้ขายส่งทัวร์

          รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า อาจชำระรวมบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

ผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน เป็นต้น

โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำ


  1. แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์
  2. แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ
  3. แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่มเพื่อเป็นรางวัล
  4.  แผนกจัดรายการนำเที่ยว
  5.  แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ
  6.  แผนกจัดนำเที่ยวภายนอกประเทศ
  7. แผนกบริหาร
  8.  แผนกขายและการตลาด
  9.  แผนกปฏิบัติการและนำเที่ยว
  10.  แผนกยานพาหนะ
  11.  แผนกเอกสารธุรกิจ
  12.  แผนกรับจองและขาย
  13. แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ประเภทของการจัดนำเที่ยว

ทัวร์แบบอิสระ
  •  เดินทางอิสระ
  •  วางแผนได้เอง
ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว
  • เหมาจ่าย
  • ให้คำปรึกษาได้
ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว
  • จ่ายเหมาที่รวมบริการ
  • เดินทางเป็นกลุ่ม
  •  นิยมมากสำหรับพวกเดินทางครั้งแรก
อื่นๆ
  •  การจัดทัศนาจร (Day Tour) เดินทางไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tour)
DMC
  •  เรื่องการขนส่ง
  • เชี่ยวชาญการจัดเลี้ยง นันทนาการ
บริษัทรับจัดประชุม
  •  เลือกสถานที่
  • ประสานงาน
  •  บริการด้านการเดินทาง ขนส่ง
มัคคุเทศก์
  1.  มัคคุเทศก์ทั่วไป
  2.  มัคคุเทศก์เฉพาะ

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 6 ที่พักแรม


ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในต่างประเทศใน ทวีปยุโรปและอเมริกา

ที่พักแรมเกิดจากความต้องการของนักเดินทางที่ไม่มีที่พักอาศัย ไม่สามารถไป-กลับได้ ในเวลาหนึ่งวัน รูปแบบที่พักพัฒนาตามความเจริญของเศรษฐกิจ ระบบขนส่งคมนาคมยุคแรกของที่พักแรมนั้น ให้เพื่อบริการการพักผ่อนเท่านั้น ต่อมากลายเป็น Coaching Inn ที่พักตามเส้นทางถนนและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ๓ ศตวรรษที่ ๑๘ รูปแบบที่พักได้เจริญเติบโตขึ้น บริเวณสถานีปลายทางและเมืองท่า มีการออกแบบให้เป็นโรงแรมรถไฟ (Railway Hotels) ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองตากอากาศได้สะดวกมากขึ้น ที่พักแบบตากอากาศ หรือรีสอร์ท (Resort) จึงขยายตัวมากในยุโรปและอเมริกา

โรงแรม (Hotel)

                  

                               

โรงแรม เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมในปัจจุบัน คำว่า Hotel มาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น แบบแผนการดำเนินงานการโรงแรมมาตรฐานสากลส่วนใหญ่ ล้วนมีต้นแบบจากประเทศในยุโรปและอเมริกากลุ่มโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น

ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย

สมัยอยุธยาเพื่อบริการพ่อค้า ทูต ผู้เผยแพร่ศาสนา บริเวณวัดเสาธงทองตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี พระวิหารเดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุเหร่า ตามแผนที่ของฝรั่งเศสระบุว่า เป็นที่พักของชาวเปอร์เซียสมัยรัตนโกสินทร์เพื่อบริการนักเดินทางชาวตะวันตก อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ถนนเจริญกรุงตอนใต้จึงเป็นย่านที่พักของชาวตะวันตกในกรุงเทพฯยุคแรก

กิจการโรงแรมที่สำคัญในอดีตของประเทศไทย


1) โอเรียนเต็ลโฮเต็ล สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติ เป็ยเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง



2) โฮเต็ลหัวหิน หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างในสมัยพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดให้บริการตามแบบโฮเต็ลในยุโรป ต่อมาให้เอกชนปรับปรุง และเช่าดำเนินกิจการ เป็นโรงแรมโซฟิเทลหัวหิน ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง


                            

3) โฮเต็ลวังพญาไท สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไท(เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้งดงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


                                   

4) โรงแรมรัตนโกสินทร์ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล บนถนนราชดำเนินกลางใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา ใช้รับรองแขกเมืองสำคัญ และเป็นที่ชุมนุมของชาวสังคมยุคนั้น ต่อมาให้เอกชนเช่าดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมรอยัล ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่กลุ่มโรงแรมภายในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี, เซ็นทรัล, อมารี, อิมพีเรียลพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ระบุว่า "โรงแรม" คือ สถานที่ที่พัก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทางธุรกิจ ให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทนและไม่คิดเป็นรายเดือน

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
  • ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ำพัก
  • ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก
  • ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของผู้พัก
  • ความเป็นส่วนตัว
  • บรรยากาศตกแต่งสวยงาม
  • ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ
แผนกงานในโรงแรม


1. แผนกงานส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก
2. แผนกงานแม่บ้าน การจัดเตรียมห้องพักแขก ทำความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ ซีกรีด จัดดอกไม้
3. แผนกอาหารและเครื่องดื่ม รับผิดชอบเรื่องอาหารและการบริการอาหาร เครื่องดื่ม
4. แผนกขายและการตลาด รับผิดชอบวางแผนตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ
5. แผนกบัญชีและการเงิน ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม
6. แผนกทรัพยากรมนุษย์ ในบางกิจการขนาดเล็ก จะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก

1. ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศ จะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว
2. ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตียงเดี่ยว ๒ เตียง ตั้งเป็นคู่วางแยกกัน
3.ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ ๒ คน บางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียว เพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้น
4.ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ ๒ ห้องขึ้นไป โดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคม (Transportations) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้การคมนาคม ประกอบด้วย

 1) เส้นทาง (Way) แบ่งเป็น
  • เส้นทางธรรมชาติ
  • เส้นทางธรรมชาติปรับปรุง
  • เส้นทางที่มนุษย์สร้างขึ้น
2) สถานี (Terminal) คือ สถานที่ให้บริการแก่ยานพาหนะ ตามความต้องการเฉพาะด้าน

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

1. ธุรกิจการขนส่งทางบก
เกิดจากการใช้แรงงานคนในการลากเกวียน ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้แรงงานสัตว์ แล้วจึงเกิดการประดิษฐ์รถม้าขึ้นในปี ค.ศ. ๑๔๘๐ ที่ประเทศอังกฤษต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๒๐ ได้ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้น จึงเกิดการทำเส้นทาง และยุคของเครื่องจักรไอน้ำ ในปี ค.ศ. ๑๘๒๕ เกิดการประดิษฐ์รถไฟขึ้นในประเทศไทย เริ่มมีรถลากเกวียนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรถไฟเป็นที่นิยมมาก ในยุโรป เช่น รถไฟ TGV ประเทศฝรั่งเศส , รถไฟ Eurostar รัฐบาลฝรั่งเศสและอังกฤษ Metroline ประเทศสวีเดน , เอเชีย เช่น รถไฟ Shinkansen ประเทศญี่ปุ่นรถยนต์ส่วนบุคคล นิยมมากเนื่องจาก ประหยัดถ้าโดยสารได้หลายคน สะดวก รวดเร็ว คล่องตัวรถเช่า ที่ประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา นิยมเช่าเพื่อการเจรจาธุรกิจและท่องเที่ยวรถตู้เพื่อนันทนาการนิยมมากในทวีปอเมริกาและยุโรป เพราะรถตู้ได้ถูกออกแบบคล้ายบ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางรถโดยสาร เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด ทำให้ผู้โดยสารนิยมใช้บริการ ยกเว้นในยุโรป

2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
เกิดจากการใช้ท่อนไม้มาต่อเป็นแพ และต่อมาก็ได้นำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เป็นลำเรือโดยมีรูปร่างคล้ายตะกร้าลอยน้ำ หลังจากนั้น ได้มีการพัฒนา นำหนังสัตว์มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือ เรียกว่า เรือหนังสัตว์

ประเทศไทย การขนส่งทางน้ำเริ่มจากการใช้เรือทำการประมง และขนส่งสินค้าภายในประเทศ ต่อมาการค้าขยาย ก็ได้รับรูปแบบวิธีการต่อและเดินเรือมาจากประเทศจีนเรือเดินทะเลจะ ให้บริการเฉพาะเมืองท่าที่สำคัญ เช่น เรือควีนอลิซาเบธที่ ๒ ให้บริการระหว่างเมืองเซาท์แฮมตัน ประเทศอังกฤษ กับนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาเรือสำราญ คล้ายโรงแรมลอยน้ำ ให้ความสะดวกสบาย หรูหรา มีบริการห้องพัก ห้องประชุมเรือข้ามฟากใช้สำหรับเดินทางในระยะสั้นๆเรือใบและเรือยอร์ชเป็นเรือขนา่ดเล็ก-กลาง เคลื่อนที่โดยลมปะทะกับใบเรือ หรือแล่นโดยเครื่องยนต์เรือบรรทุกสินค้าเป็นเรือที่ส่งสินค้าและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ไม่เร่งรีบ มีห้องพักเหมือนเรือสำราญ แต่ราคาถูกกว่า รับผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒ คน


3.ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
เกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี ค.ศ. ๑๙๐๓ พี่้น้องตระกลูWrightได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องบิน และออกบินทางด้านธุรกิจครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ระหว่างเมืองLondonและเมืองParis

แต่เกิดการขนส่งผู้โดยสารครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๒๗ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบินระหว่างเมืองBostonและเมืองNewYork จนกระทั่งในปี ค.ศ. ๑๙๓๕ ได้เริ่มจ้างพนักงานบนเครื่องบินขึ้นการบินเที่ยวบินประจำแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
1) เที่ยวบินประจำภายในประเทศ
2) เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศการบินเที่ยวบินไม่ประจำเป็นการบินเสริมนอกตาราง สามารถรับ-ส่ง ผู้โดยสารทั่วไปได้ นิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวการบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำเป็นการบินให้บริการแก่องค์กร กลุ่มนักท่องเที่ยว

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว




แหล่งท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีคำจำกัดความ ๓ คำที่จำเป็นต่อการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว

1) ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปธรรมและนามธรรม นำไปใช้เพื่อเกิดการพักผ่อน การประกอบกิจกรรมนันทนาการ นำไปสู่ความพอใจและความสุขในแบบต่างๆ
2) จุดหมายปลายทาง (Destination) คือ สถานที่ๆใดที่หนึ่ง เป็นที่เฉพาะ หรือทั่วไป หรือหลายๆที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
3) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) คือ สถานที่ที่มีศักยภาพดึงดูดคนไปเยี่ยมชม หรือ ประกอบกิจกรรมนันทนาการดังนั้น แหล่งท่องเที่ยว คือ สถานที่ๆเกิดจากธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว เพื่อตอบสนองความพึงพอใจ หรือประกอบกิจกรรมนันทนาการ
 ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว

1. จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น

2. จุดมุ่งหมายรอง คือ สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างทางในเวลาสั้นๆ

ความเป็นเจ้าของ คือ ผู้ที่ดูแลแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ รัฐบาล เอกชน องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
ความคงทนถาวร คือ การแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ที่เป็นสถานที่ ที่เป็นเทศกาล
ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีคำจำกัดความ ๓ คำที่จำเป็นต่อการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว
1) ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปธรรมและนามธรรม นำไปใช้เพื่อเกิดการพักผ่อน การประกอบกิจกรรมนันทนาการ นำไปสู่ความพอใจและความสุขในแบบต่างๆ
2) จุดหมายปลายทาง (Destination) คือ สถานที่ๆใดที่หนึ่ง เป็นที่เฉพาะ หรือทั่วไป หรือหลายๆที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
3) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) คือ สถานที่ที่มีศักยภาพดึงดูดคนไปเยี่ยมชม หรือ ประกอบกิจกรรมนันทนาการดังนั้น แหล่งท่องเที่ยว คือ สถานที่ๆเกิดจากธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว เพื่อตอบสนองความพึงพอใจ หรือประกอบกิจกรรมนันทนาการ

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว

1. จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น

2. จุดมุ่งหมายรอง คือ สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะพัก หรือเยี่ยมชมระหว่างทางในเวลาสั้นๆ

ความเป็นเจ้าของ คือ ผู้ที่ดูแลแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ รัฐบาล เอกชน องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
ความคงทนถาวร คือ การแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ที่เป็นสถานที่ ที่เป็นเทศกาล

ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
1) แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ

คือ ที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งชีวภาพและกายภาพ รวมบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่คงสภาพธรรมชาติเอาไว้ เช่น ภูเขา น้ำตก ทะเล น้ำพุร้อน สวนสัตว์เปิด อุทยานแห่งชาติ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น










2) แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น

 คือ ที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ อายุ และรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างกันออกไป ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆในประเทศไทย










 กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานแบ่งออกเป็น ๗ ประเภท ได้แก่
1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ ที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากไม่มีจะเกิดความสูญเสียอย่างมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง พระธาตุดอยสุเทพ
2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่สร้างเพื่อบุคคล หรือเรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์
3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่มีคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม
4. ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสถาปัตยกรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ พื้นที่ที่มีสถาปัตยกรรม วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา
6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ เมืองที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม เช่น อยุธยา
7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณ ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาตร์ที่สำคัญของชาติ เช่น โบราณสถานเวียงกุมกาม แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น คือ ที่ที่มีแบบอย่างการดำเนินชีวิต ความเชื่อ กิจกรรมต่างๆที่สืบทอดกันมา เป็นแบบเฉพาะในแต่ละชุมชน เช่น การแห่นางแมว บุญบั้งไฟ สงกรานต์ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

  1. ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น  (Hierarchy of needs)
     
             เป็นทฤษฏีจูงใจของ Maslow กล่าวไว้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (Wanting animals) และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ (Wants) และการต้องการจำเป็นต่าง ๆ(Needs) ความต้องการไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่  Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5ขั้น คือ


  • ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา  (Physiological needs) 
  • ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต  (Safty needs)
  • ความต้องการทางด้านสังคม  (Social needs)
  • คามต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง (Self-esteem needs)
  • ความต้องการความสำเร็จแห่งตน  (Self-actualization needs)
2.      ทฤษฏีขั้นบรรไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)


     ผู้นำเสนอทฤษฏีนี้ คือ Philip  Pearce โดยประยุกต์จากทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการความจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ในลำดับขั้นแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยวในขั้นที่ 1 หรือความต้องการทางสรีระวิทยา  ถึงขั้นที่ 4  จะเกิดจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
(Self-directed) ส่วนหนึ่ง และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other-direced)  แบ่งออกเป็นดังนี้
  •   ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
  • ความต้องการความภาคภูมิใจและการพัฒนาตนเอง
  • ความต้องการสรางสัมพันธภาพ
  • ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง
  • ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด
3.   แรงจูงใจวาระซ่อยเร้น (Hidden Agenda)


          ของ Crompton  เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว  มีบางส่วนที่คล้ายกับทฤษฏีแรงจูงใจของ Maslow  แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี 7 ประเภท ดังนี้
  • การหลีกหนีจากสภาพแวดบล้อมที่จำเจ
  • การสำรวจและการประเมินตนเอง
  • การพักผ่อน
  • ความต้องการเกียรติภูมิ
  • ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
  • การกระชับสัมพันธ์ทางเครือญาติ
  • การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
4.  แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยว


          ในทัศนะของ Swarbrooke  จำแนกแรงจูงใจออกเป็น 6 ชนิด
               1.แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physical)
                     คือ ความต้องการพักผ่อนหย่อนใจจากความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เพราะ ต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ  เช่น อาบแดดให้ผิวเป็นสีแทน เป็นต้น
               2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
                  คือ ความสนใจที่จะได้สัมผัสวัฒนธรรมที่แปลกใหม่  ได้เห็นสถาปัตยกรรมที่แปลกใหม่  ได้เห็นวิถีชีวิตที่แปลก ๆ  เช่น การท่องเที่ยวเพื่อชมวัด ปราสาท ชมวัง เป็นต้น
               3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง (Emotional)
                  ต้องการเห็นสิ่งที่เป็นอดีต  สิ่งที่หาดูไม่ได้ในโลกปัจจุบัน  เรียกว่า แรงจูงใจทางด้านการถวิลหาอดีต (Nostalgia) นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะชอบชมพิพิธภัณฑ์ ชอบชมอุทยานประวัติศาสตร์
               4.การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ (Status)
                  คือ แรงจูงใจที่อยากได้ชื่อว่าเที่ยวแล้วมีหน้ามีตา มีคนชื่นชม  เช่น ไปเที่ยวในประเทศที่ยังไม่มีใครเคยไป เป็นต้น
               5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง (Personal development)
                  บางคนเดินทางเพื่อหาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ตัวอย่าง คือ นักเรียนไทยที่มีฐานะดีเดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษในต่างประเทศในช่วงฤดูร้อน
               6.แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal)
                  เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผลส่วนตัวของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะไปเยี่ยมเยียนญาติมิตรเพื่อนฝูงที่อยู่ห่างไกลกัน ความต้องการที่จะหาเพื่อนใหม่

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกคร้งที่ 2

การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยอาณาจักร บาบิโลเนียน (Babylonian) และอาณาจักรอียิปต์ (Egyptian) หลังฐานที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ก็คือ ได้มีการก่อตั้งพิพิธณฑ์โบราณวัตถุ (Historic antiquities)

อาณาจักรอิยิปต์

หลักฐานก็คือได้มีการก่อตั้งพิพิธพัณฑ์โบราณวัตถุ(historic antiquities) เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าขมในนครบาบิโลน ชาวอิยิปต์เมื่อ2600 ปีมาแล้วก็มีการจัดงานเทศกาลด้านศาสนา และได้เคยใรการค้นพบข้อความท นักเดินทางชาวอิยิปต์ได้บันทึกไว้เมื่อ 2000 ปีก่อนคริสตกาลด้วยนักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการ เดินทางเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล นิยมเดินทางไปยังที่ที่เชื่อ ว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษา โรค และด้านกีฬาในช่วง 500 ปีก่อนตริสตกาล กรุงเอเธนส์ และมีที่พักแรมประเถทต่างๆ

อาณาจักรโรมัน

ชาวโรมันมีการเดินทางอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนิยมเดินทางไปพักร้อนบนภูเขา และพากันไปเที่ยวที่อ่าวเมืองเนเปิล มีการสร้างบ้านพักและวิลล่าที่สวยงาม ชาวโรมันมีอำนาจในการซื้อมากและเป็นนักล่าของที่ระลึกชาติแรกๆของโลก ในสมัยอาณาจักรโรมัน มีทั้งการท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ไร้พรมแดนไม่เหมือนในปัจจุบัน ทุกแห่งในตอนนั้นใช้เงินตราของโรมัน ภาษาละตินใช้กันอย่างกว้างขวาง

มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้นๆ

หนังสือคู่มือนำเที่ยวปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย ประกอบด้วยรายชื่อที่พัก หร้อมสัญลักษณ์บอกเกรดของที่พักเหล่านั้น

การท่องเที่ยวในยุคกลาง (ระหว่าง คศ.500-1500)

จากการล่มสลายของอาณาจักรโรมันหรือยุคมืด ช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจตกต่ำ การเดินทางลำบากมากขึ้น อันตรายมากขึ้น วันหยดเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตของผู้คน ศาสนาโรมันคาทอลิกเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนให้กับผู้ คนที่ศรัทธาในศาสนา ซึ่งในปีหนึ่งมีวันหยุดเพิ่มมากขึ้นถึง 33 วัน คนชั้นสูงและกลางนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญและบันเทิงควบคู่ไปด้วย เช่นเมือง Winchester เพื่อขอความช่วยเหลือจากเทพเจ้า ปัญหาคือเจอโจรดักปล้น มัคคุเทศก์จึงต้องทั้งนำทางและปกป้องผู้เดินทางด้วยค่าจ้างจึงแพงมาก เท่ากับครึ่งหนึ่งของเราคาอูฐหนึ่งตัว และเกิดร้านขายของที่ระลึกขึ้น ผลของการเดินทางเพื่อจารีกแสวงบุญ คือ การแสวงบุญ, ความหมายทางด้านจิตใจ, ต้องการให้คนอื่นเห็นความสำเร็จในรูปแบบของที่ระลึก

การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 18

การพัฒนารถม้า4ล้อที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริง ในศตวรรษที่18มีระบบทางด่วน ที่จะต้องจ่ายค่าผ่านทาง คศ.1815 ถนนมีการพัฒนาดีขึ้น หลุมบ่อลดน้อยลงมีการนำยางมะตอยมาใช้ แกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในต้นศตวรรษที่18 ผู้คนที่ร่ำรวยมีมากขึ้นทั่วอังกฤษ คนชั้นสูงนิยมส่งลูกชายไปเรียนต่างประเทศพร้อมอาจารย์ประจำ ตัว เรียกว่าการเดินทางแบบแกรนด์ทัวร์ จนในปี คศ.1749 Dr.Thomas Nugent ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวชื่อว่า The Grand Tour ซึ่งหนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้น และกลายเป็นความนิยมทางสังคม เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 18 ความนิยมในการเดินทางก็กลายเป็นธรรมเนียมปฎิบัติ

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่

(Spa)เป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่ในสมัยยุคโรมันแต่ก็ความนิยมก็ได้ลดลงในยุคหลังๆจนในปีคศ.1562 Dr.William Turner ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำแร่ที่เมือง Bath และอื่นๆในทวีปยุโรปว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้ ทำให้แหล่งน้ำแร่กลายมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง การเดินทางไปรับการบำบัดด้วยน้ำแร่ได้กลายมาเป็นสถานภาพทางสังคมอย่างรวด เร็ว ทำให้บ รรดาสถานบำบัดทั้งหลายเปลี่ยนโฉมหน้าจากสถานรักษาสุขภาพไปเป็นสถานที่ เพื่อความเพลิดเพลินแทน เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 ยุคเฟื่อฟูของบ่อน้ำแร่ในอังกฤษถูกลดความนิยมลง แหล่งท่องเที่ยวประเภทสปากลายเป็นเมืองของผู้สูงอายุแทน และในขณะเดียวกันธุรกิจประเภทบ้านพักตากอากาศชายทะเลก็ได้รับความนิยมมากกว่าสปา

กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล

ความคิดที่ว่าการอาบน้ำทะเลจะทำให้สุขภาพดีขึ้นเป็นที่ยอมรับกันในตอนต้นของ ทศวรรษที่ 18 ระยะนี้สถานที่ตากอากาศชายทะเลในเกาะอังกฤษก็เริ่มผุดขึ้น เมือง Scarborough เป็นเมืองแรกที่คนนิยมไปบำบัดโรคด้วยน้ำทะเล ซึ่งความนิยมได้เริ่มต้นขึ้นราวทศวรรษที่ 1730 Dr.Richard Russel ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยน้ำทะเลขึ้นใน คศ.1752 ทำให้การอาบน้ำทะเลเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ซึ่งใน ฝรั่งเศสสามารถจัดหาให้ได้ ทำให้จากปี 1880 เป็นต้นไป รถไฟสายสีน้ำเงินก็จัดรถนอนที่หรูหรา นำนักท่องเที่ยวจากปารีสไปสู่ริเวียร์ร่าในทั้ง หน้าร้อนและหน้าหนาว

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเทียวในศตวรรษที่ 19

เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทาง และปัจจัยที่ดึงดูดให้คนเดินทาง ในการเดินทางนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ เงินและเวลามากพอที่ใช้ในการเดินทางแต่ละครั้งซึ่งในอดีตสองสิ่งนี้ก็เอื้อ เพียงแค่คนบางกลุ่มเท่านั้น และสิ่งที่สำคัญเท่าๆกับเวลาและเงินก็คือ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง เช่นยานพาหนะที่พวกเขาสามารถจ่ายได้ รวดเร็ว ปลอดภัย สะดวกสบาย ซึ่งทั้งหมดนี้มันพึ่งจะเริ่มมีในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 ข้อจำกัดอีกอย่างก็คอโรคภัยไข้เจ็บ อัตตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

ยุคของเครื่องจักรไอน้ำ : กำเนิดการเดินทางโดยรถไฟ



ทางรถไฟสายแรกถูกสร้างขึ้นในประเทศอังกฤษปี คศ.1825 ตรงกับมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีทางรถไฟเชื่อเมืองใหญ่ๆ และเมืองอุตสาหกรรม และในยุโรปและเกือบทั่วไปในโลก ส่วนใน สหรัฐอเมริกามีบริการรถไฟเริ่มราวทศวรรษ ที่ 1820 และเชื่อมถึงฝั่งตะวันตกเสร็จในปี 1869 ในอังกฤษรถไฟถูกใช้ทั้งการค้าและธุรกิจ Thomas Cook ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบการคนแรกที่ได้จัดพาทัวร์สมาชิกของสมาคม เดินทางจาก Leicester ไปยัง Loughborough ในราคา 1 ชิลลิ่งหรือ 5 เพนนี และในปี 1845 เขาก็จัดทัวร์เป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ ทำให้คนอื่นจัดตามเขา เขาจะติดต่ออย่างใกล้ชิดกับบรรดาโรงแรมรถไฟ และเขาจะร่วมเดินทางไปกับลูกทัวร์เพื่อลดความกังวลของลูกทัวร์และนำเอา hotel voucher มาใช้เป็นครั้งแรกในปี 1876 และในตอนกลางคริสตศตวรรษที่ 18 การประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปก็เป็นผลสำเร็จ ทำให้เดิกการเดินทางเพื่อความมีหน้ามีตา และเก็บหลักฐานที่ตนไปมาให้คนที่ไม่ได้ไปเห็นถึงความสำเร็จของการเดินทาง

เรือกลไฟ


บริษัท แรกที่เปิดให้บริการเรือกลไฟระยะไกลคือ Pand O เริ่มเปิดเส้นทางไปยังอินเดียและตะวันออกไกล ประเทศอังกฤษเป็นชาติแรกที่เปิดให้บริการเรือน้ำลึก จึงจัดวาเป็นมหาอำนาจทางการขนส่งทางทะเลในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 แต่ก็มีคู่แข่งในทวีปอเมริกาเหนืออีกหลายบริษัท ในปี คศ.1869 คลองสุเอซได้เปิดให้เรือผ่านเป็นครั้งแรก และใรตนอลกางศตวรรษที่ 20 ความรุ่งเรืองของการเดินเรือก็ลดลงเมื่อมีการเปิดบริการด้านการบิน Thomas Cook

การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 20 (1901-2000)ช่วง 50 ปีแรก

สถานที่ตากอากาศในริเวียร่าของฝรั่งเศสเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องที่ยวฐานะดี ทศวรรษที่ 1920 เกิดการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อรูปแบบการเดินทางเปลี่ยนไปผู้คนนิยมหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น มีการพัฒนาถนน นำรถบรรทุกที่ขนสัมภาระในสงครามทำเป็นรถโค้ช ซึ่งได้รับความนิยมมากในช่วง 1920 และต่อมาบริษัท Henry Ford ในอเมริกา ผลิตรถยนต์รุ่น Model T ในราคาที่ใครก็เป็นเจ้าของได้ เป็นครั้งแรก ทำให้การเดินทางโดยรถไฟลดน้อยลง และการบินเพื่อการพาณิชย์ได้เริ่มเป็นครั้งแรกในปี 1919 ในทวีปยุโรป สายการบินของอเมริกา Pan American Airways เริ่มบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกในปี 1930 โดยในระยะแรกเพื่อการขนส่งจดหมายและไปรษณีย์ภัณฑ์ จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พัฒนามากถึงขนส่งผู้โดยสารได้

การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ผู้คนเริ่มสนใจการเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น การเดินทางที่สำคัญคือการเดินทางระยะไกลด้วยเครื่องบิน การบินเที่ยวแรกเป็นการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างนิวยอร์คในอเมริกา กับเมืองปอร์ธสมัธของอังกฤษ ต่อมา Harold Bamberg, Freddie Laker ในปีคศ.1958 ได้มีการนำเครื่องบินไอพ่นโบอิ้ง 707 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางทางอากาศแบบมหาชนเป็นครั้งแรก และในต้นปี 1970 มีการนำเครื่องบินที่เร็วกว่าเสียง คือ เครื่องบินคองคอร์ดมาใช้ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส บินระหว่างลอนดอนและปารีสและนิวยอร์ค ใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักธุรกิจเท่านั้น ในปีเดียวกันมีการเปิดตัวเครื่องบินเจทบรรจุผู้โดยสารได้ถึง 400 คน และ Thomas Cook ได้จัดทัวร์เหมาลำด้วยเครื่องบิน พานักท่องเที่ยวจากนิวยอร์คไปชิคาโก เพื่อดูการแข่งขันชกมวย นับว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลากหลายประเทศ ที่นิยมจัดทัวร์

บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว



นักท่องเที่ยว (Tourist)
  •   คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ทัศนาจร(Excursionist)
  • คือผู้มาเยือนชั่วคราว และผู้พักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย ไม่เกิน 24 ช่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ (Cruise Travellers แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน Transit)
องค์ประกอบที่สำคัญ   2  ประ การ ได้แก่

1.องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว  แบ่งออกเป็น
  •  สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
  • ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ
  • ธุรกิจที่พักแรม
  • ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
  • ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
2.องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว
  • ธุรกิจการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
  • ธุรกิจการประชุม สัมนา และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการจัดนิทรรศการ
  • การบริการข่าวสารข้อมูล
  • การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
  • การอำนวยความสะดวกในการเข้า-เมือง
ความสำคัญของการท่องเที่ยว
ทางด้านเศรษฐกิจ
  1. สร้างรายได้เป็นเงินตราเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
  2. การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
  3. การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการนำเอาทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
  4. การท่องเที่ยวช่วยลดปัญหาว่างงาน
ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
  1. การท่องเที่ยวมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์นดีของมวลมนุษยชาติ
  2. การท่องเที่ยวมีส่วนพัฒนา  ยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
  3. การท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการลดปัญหาสังคม
  4. การท่องเที่ยวมีส่วนในการช่วยฟื้นฟู  อนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
  5. การท่องเที่ยวมีส่วนช่วยให้คนในสังคมรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ทางด้านการเมือง
  1. การท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  2. การท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมความมั่นคงความปลอดภัยและภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดแก่ประเทศ