วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 8 ธุรกิจอื่น ๆ และองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม


          หมายถึง การประกอบกิจการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยว หรือประชาชนทั่วไป

ความเป็นมา
  • สมัยกรีก – โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทาง ในสมัยโรมันมีร้านอาหารแบบ Snack Bars (ที่มาของธุรกิจอาหารจานด่วน Fast Food)
  • ยุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีคุณภาพ
  •  ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง ในศตวรรษที่ 16 มีการนำเข้าชา กาแฟ
  •  ค.ศ.1765 เกิดธุรกิจภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเญอร์ ขายซุป
  • ค.ศ.1782 ภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Grande Taverne de Londres ที่ปารีส
  • ในอเมริกา Delmonico และร้านอาหารราคาถูก ในนิวยอร์ค ค.ศ.1827 และ 1848 
  •  ธุรกิจร้านอาหารยุคหลัง ๆ หลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร เช่น McDonald เมื่อปี 1948
ประเทศไทย
  •  ยุคแรก คนไทยนิยมเก็บอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือนไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน
  • สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนย่านสำเพ็ง
  • สมัยรัชกาลที่ 4 – ปัจจุบัน มีอิสระในการดำเนินชีวิต ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มาพร้อมกับโรงแรม
ประเภท

ธุรกิจอาหารจานด่วน Fast Food Restaurants

                       
  • เน้นความสะดวก รวดเร็ว ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  •  เปิดทุกวัน ไม่เจาะจงแต่ร้านที่ดำเนินการแบบการรับรองสิทธิ (Franchise) แต่รวมถึงอาหารตามเชื้อชาติอื่น ๆ ให้บริการในรูปอาหารจานเดียว
ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป Deli Shops


  • บริการอาหารสำเร็จรูปแช่เข็ง เนย แซนด์วิช สลัด และอื่นๆ
  • ที่นั่งในร้านมีจำกัด
  • เปิดไม่นาน 
  •  มักอยู่ในทำเลที่ผู้คนหนาแน่น
 ธุรกิจอาหาร Buffets
     
  • ลูกค้าบริการตนเอง ตักอาหารไม่จำกัดปริมาณ “All you can eat” ในราคาเดียว / หัว
  •  เครื่องดื่มจะบริการให้ที่โต๊ะ
  •  ได้รับความนิยมในโรงแรม
ธุรกิจประเภท Coffee Shops
  • เน้นบริการที่รวดเร็ว การให้บริการอาหารอยู่ที่เค้าน์เตอร์บริการ
  • ราคาไม่แพง
ธุรกิจ Cafeterias

  • ลูกค้าบริการตนเอง
  • รายการอาหารจำกัด
  •  เน้นความรวดเร็ว
  • สถานที่กว้างขวาง
ธุรกิจร้านอาหาร Gourmet Restaurants

  • เน้นบริการระดับสูง
  • ใช้ทุนมากเพื่อรักษาชื่อเสียงรวมทั้งดึงดูดลูกค้า
ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ Ethnic Restaurants

  •  เน้นอาหารประจำถิ่น
  • พนักงานแต่งการตามชาติ
  • การตกแต่งร้านมีลักษณะเน้นจุดเด่นประจำชาติ
อาหารไทยภาคกลาง


        มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร จึงเป็นศูนย์กลางการค้าและทางวัฒนธรรมของชาติ มีความหลากหลายของอาหาร ทั้งเค็ม เผ็ด เปรี้ยวหวาน และมีการแต่งกลิ่นด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ

 อาหารไทยภาคเหนือ


                               
 
          ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศอุดมสมบูรณ์ มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม อาหารใช้พืชตามป่าเขา หรือที่ปลูกไว้มาปรุงอาหาร มีแบบเฉพาะ เรียกว่า “ขันโตก” ไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะได้ความหวานจากผักแล้ว

อาหารไทยภาคใต้


          อยู่ติดทะเล (ฝน8แดด4) อาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล (มีกลิ่นคาวจึงใช้เครื่องเทศและขมิ้นดับกลิ่น) อาหารมีรสชาติเผ็ด ร้อน เค็ม เปรี้ยว นิยมกินผักเพื่อลดความร้อน เรียกว่า “ผักเหนาะ” หรือ “ผักเกร็ด”

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


          อากาศร้อน ภูเขา ป่าไม้มีน้อย ดินร่วนปนทราย มักรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักหูเสือ แคป่า ผักจิก นิยมเลี้ยงวัว ควาย เพื่อบริโภค และสัตว์อื่นๆ ตามธรรมชาติ เช่น มดแดง ตั๊กแตน แมงดานา อาหารมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม มีการถนอมอาหาร

ประเภทของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

เฟรนชาย
  •  มีประเภทไม่มาก
  • ต้นทุนต่ำ
  • ประสิทธิภาพพนักงานสูง มีการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
  • ภาชนะใส่อาหารมักเป็นครั้งเดียว ลดเรื่องการล้างทำความสะอาด
  •  มีความชำนาญด้านอาหารเป็นอย่างดี
บริการอาหารในโรงแรม

1.อาหารเช้า เวลา 8.00-9.00 น.

     1.1 อาหารเช้าแบบยุโรป = น้ำผลไม้ ขนมปัง แยมหรือเนย กาแฟ ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้

     1.2 อาหารเช้าแบบอเมริกัน = น้ำผลไม้ คอร์นเฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน ชา กาแฟ

2. อาหารก่อนกลางวัน เวลา 9.30-11.30 น.

3. อาหารกลางวัน เวลา 11.30-14.00 น. (ไม่หนักเกินไป)

“A la carte” = สั่งตามใจ หรือ Table d’hotel อาหารชุด

  • จานเดียว
  • าหารกลางวันแบบ 2 จาน
  • อาหารกลางวันแบบ 3 จาน
  • อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์
4. อาหารว่างหรือน้ำชา เวลา 15.00-17.00 น.

  • ชา กาแฟ เค้ก หรือผลไม้
5. อาหารค่ำ เวลา 19.00 น. มื้อหนักสุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้

    5.1 อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)

    5.2 ซุป (Soup)

    5.3 อาหารจานหลัก (Entress) อาหารทะเล

   5.4 อาหารจานหลัก (Main Course) ประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง

   5.5 ของหวาน (Dessert)

   5.6 ชา กาแฟ (Tea & Coffee)

ชั้นแรงงานในอังกฤษใช้คำว่า dinner = อาหารมื้อเที่ยง

6. อาหารเย็น (Supper) อาหารมื้อเบา ๆ หลังมื้อเย็น (มื้อสุดท้ายของวัน)

ในอังกฤษอาหารมื้อเย็น เรียกว่า tea

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก (Shopping and Souvenir Business)


          คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค

ความเป็นมา

          การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของกับของ หรือที่เรียกว่า Barter System ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป

สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า

          อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า

ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้วค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกา และเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมาอยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า

ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ


ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้ามักตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน

ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า

กิจกรรมการซื้อสินเป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ
เป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น

ธุรกิจสินค้าที่ระลึก

คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน มักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่น



ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย

          แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันสามลักษณะได้แก่
  •  รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
  • รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
  • รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มีสามลักษณะได้แก่
  • สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ
  • สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
  • สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มีหกลักษณะได้แก่
  •  รูปลักษณะตัวอักษร
  • รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
  • รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
  • รูปลักษณะธรรมชาติ
  •  รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
  • รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
  •  ประเภทบริโภค
  • ประเภทประดับตกแต่ง
  • ประเภทใช้สอย 
  •  ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ทางสังคมและวัฒนธรรม
  • สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
  • ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
  • การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
  • สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ
  • สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว
  • ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
  • ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)

          หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยว

ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว

2.สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

ธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)

ธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว

ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

 

บริษัทนำเที่ยว Tour Operator

          ธุรกิจนำเที่ยว พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ปี พ.ศ.2535 มาตราที่ 3 “การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก เกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่พัก อาหาร หรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว”

ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว

  1.  ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุร
  2. กิจนำเที่ยวในประเทศ
  3. ธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ
บทบาทหน้าที่ของ Travel Agency

  • จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว เช่น ราคาห้องพัก รถเช่า ฯลฯ
  • การจองใช้บริการยานพาหนะ การจองตั๋วเครื่องบิน ต้องใช้ข้อมูล คือ จำนวนผู้โดยสารพร้อมชื่อ นามสกุล เบอร์ ที่อยู่ ข้อมูลความต้องการพิเศษ
  • รับชำระเงิน ARC ให้ Travel Agency ส่งรายงานจำนวนบัตรค่าโดยสารที่ขายแล้วได้รับแล้วนำเข้าบัญชี settlement account ซึ่ง ARC จะถอนไปชำระให้สายการบิน
  • ส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
  • ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่น ๆ
  • ช่วยในการซื้อบัตรโดยสาร
  •  ออกบัตรโดยสาร และเอกสารอื่น ๆ
ประโยชน์ของ Travel Agency
  1. ช่วยวางแผนและหาข้อมูลในการท่องเที่ยว
  2.  ราคาที่ดีที่สุด
  3. ประหยัดเวลา
  4. ช่วยแก้ปัญหาในเวลาจำเป็น
  5.  รู้จักผู้ประกอบการ และธุทรกิจที่ดีกว่าเรา
ลักษณะของตัวแทนการท่องเที่ยว (Travel Agency) ที่ดี
  1. เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของลูกค้าในการท่องเที่ยวได้
  2. นักขาย นักจิตรวิทยา ชำนาญเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว
  3.  รู้ข้อได้เกรียบเสียเปรียบของการเดินทาง
  4. จัดหาบริการที่เหมาะสมกับลูกค้า
  5.  รู้เรื่องภูมิศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ดี
  6. สามารถอ่านตารางยานภาหนะได้ทุกประเภทและรวดเร็ว
ประเภทของ Travel Agency มี 4 ประเภท

1. แบบที่มีมาแต่เดิม
  • ประเภทเครือข่าย
  • ประเภท Franchise
  • ประเภท Consortium
  • ประเภทอิสระ
2. แบบที่ขายทางอินเทอร์เน็ต


3. แบบชำนาญเฉพาะทาง


4. แบบประกอบธุรกิจจากที่พัก

การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยว


ทำเลที่ตั้ง

         ธุรกิจที่ไม่อยู่ติดกับผู้บริโภคโดยตรง อาจตั้งย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก

แหล่งเงินทุน

         เนื่องจากธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องลงทุนมากเหมือนอุตสาหกรรมอื่น เพียงมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

การตลาด

          คือ ลู่ทางการจัดจำหน่าย ส่วนแบ่งทางการตลาด การทำประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการวางแผน การทำวิจัยตลาด การส่งเสริมการขาย เป็นต้น

การจดทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว

หลักประกันอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

เฉพาะพื้นที่ 10,000 บาท ในประเทศ 50,000 บาท

Inbound 100,000 บาท

Outbound 200,000 บาท

บริษัททัวร์หรือผู้ขายส่งทัวร์

          รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า อาจชำระรวมบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่พัก และบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น

ผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน เป็นต้น

โครงสร้างการบริหารของบริษัทนำ


  1. แผนกบุคคลและมัคคุเทศก์
  2. แผนกจัดนำเที่ยวอิสระ
  3. แผนกจัดนำเที่ยวเป็นกลุ่มเพื่อเป็นรางวัล
  4.  แผนกจัดรายการนำเที่ยว
  5.  แผนกจัดนำเที่ยวภายในประเทศ
  6.  แผนกจัดนำเที่ยวภายนอกประเทศ
  7. แผนกบริหาร
  8.  แผนกขายและการตลาด
  9.  แผนกปฏิบัติการและนำเที่ยว
  10.  แผนกยานพาหนะ
  11.  แผนกเอกสารธุรกิจ
  12.  แผนกรับจองและขาย
  13. แผนกแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ประเภทของการจัดนำเที่ยว

ทัวร์แบบอิสระ
  •  เดินทางอิสระ
  •  วางแผนได้เอง
ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว
  • เหมาจ่าย
  • ให้คำปรึกษาได้
ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว
  • จ่ายเหมาที่รวมบริการ
  • เดินทางเป็นกลุ่ม
  •  นิยมมากสำหรับพวกเดินทางครั้งแรก
อื่นๆ
  •  การจัดทัศนาจร (Day Tour) เดินทางไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ทัวร์แบบผจญภัย (Adventure Tour)
DMC
  •  เรื่องการขนส่ง
  • เชี่ยวชาญการจัดเลี้ยง นันทนาการ
บริษัทรับจัดประชุม
  •  เลือกสถานที่
  • ประสานงาน
  •  บริการด้านการเดินทาง ขนส่ง
มัคคุเทศก์
  1.  มัคคุเทศก์ทั่วไป
  2.  มัคคุเทศก์เฉพาะ